ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟม
20 มี.ค. 67“โฟม” ผลิตมาจากวัตถุดิบคือ เม็ดพลาสติก ซึ่งทำจากพอลียูรีเทนหรือยางพาราโฟม PE (อุตสาหกรรมโฟม PE (EPE = Expandable Polyethylene) ในช่วงแรกๆ ใช้สาร Freons (ซึ่งมีสาร CFC หรือ Chloro Fluoro Carbon เป็นส่วนประกอบ) เป็นตัวทำให้ฟูฟอง (Blowing Agent) โดยโฟมชนิดนี้จะทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการพัฒนาต่อมาโดยใช้ก๊าซ Butane หรือ Pentane เป็นตัวทำให้ฟูฟองแทน
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมโฟมไม่ได้นำสาร CFC มาใช้เลยจึงทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง แต่โฟมเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่ย่อยสลายไม่ได้เองตามธรรมชาติ และการทำลายโฟมทำให้เกิดมลพิษในหลายๆด้าน จึงมีความพยายามนำโฟมกลับมาย่อยเป็นพอลิเมอร์อีกครั้งในรูปของกาว
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กล่องโฟมบรรจุอาหารมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลาสติกโฟม เป็นสารที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1,000 ปี กว่าที่จะย่อยสลาย การนำไปฝังต้องใช้พื้นที่มาก สารพิษจากกล่องโฟมจะตกค้างตามกองขยะ การเผาทำลายยังทำให้เกิดมลพิษในอากาศ
วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การลดการใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากพลาสติกโฟม โดยหันไปใช้ภาชนะที่ทำจากพลาสติกชนิดอื่น หรือ ภาชนะที่ทำจากแก้วหรือกระเบื้อง ที่ปลอดภัยกว่าและสามารถนำกลับมาใช้บรรจุอาหารได้อีกหลายครั้ง หรือใช้ภาชนะที่ทำจากพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable Plastics) แทน เช่น บรรจุภัณฑ์อาหารไบโอชานอ้อย ใช้วัตถุดิบจากเส้นใยธรรมชาติ (non-wood fiber) ได้แก่ เยื่อกระดาษจากชานอ้อย โดยกระบวนการผลิตเน้นคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กล่องโฟมบรรจุอาหาร” ใส่กับข้าวอาหารร้อนต้องระวัง หากกล่องโฟมสัมผัสกับอาหารที่ร้อนจัด จะทำให้กล่องโฟมเสียรูปทรงและหลอม
ละลายทำให้มีสาร “สไตรีน” ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ออกมาปนเปื้อนอาหาร ก็จะทำให้ส่งผลเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ได้แก่
มะเร็งเต้านม
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งตับ
แต่อย่างไรก็ตาม กล่องโฟมก็ยังเป็นขยะที่มีการย่อยสลายที่ยาก และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ดี ทางที่ดีเราควรลดการใช้กล่องโฟม แล้วเปลี่ยนมาใช้เป็นกล่องกระดาษ หรือใส่กล่องอาหารของตนเองน่าจะดีกว่า